กรมพระธรรมนูญ ได้ตอบข้อหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกหมายจับและหมายขัง (ตามหนังสือที่ กห ๐๒๐๒/๑๓๓๐ ลง ๙ ต.ค.๒๕๔๕) ดังนี้
๑. ในคดีอาญา นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ ต.ค.๒๕๔๕ เป็นต้นไป การจับและคุมขังผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในชั้นสอบสวน เป็นอำนาจของศาลทหารที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในการมีคำสั่งหรือออกหมาย ตามมาตรา ๒๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช ๒๔๙๘ มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๔๕ แล้วแต่กรณี
๒. กรณีที่ทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร
ให้ตำรวจร้องขอหมายจับต่อศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
และมีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการจับ๑. ในคดีอาญา นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ ต.ค.๒๕๔๕ เป็นต้นไป การจับและคุมขังผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในชั้นสอบสวน เป็นอำนาจของศาลทหารที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในการมีคำสั่งหรือออกหมาย ตามมาตรา ๒๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช ๒๔๙๘ มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๔๕ แล้วแต่กรณี
๓. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาทหารมิได้มารับตัวทหารผู้ต้องหา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พุทธศักราช ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖(๑) ให้ตำรวจนำตัวทหารผู้ต้องหาไปยังศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายขังให้ต่อไป
กองคดี แจ้งมาเพื่อทราบและถือเป็นแนวปฏิบัติตามนัยระเบียบดังกล่าว (ตามหนังสือ กองคดี ที่ ๐๐๐๔.๖/๑๓๒๐๕ ลง ๒๙ ต.ค.๒๕๔๕) ดังนี้
การยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับและหมายค้น
๑. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา
และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ
หรือหมายค้นต่อศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการจับหรือค้น
๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ หรือหมายค้นต่อศาลยุติธรรม ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วย แนวปฏิบัติในการออกหมายจับและหมายค้นในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕ ลง ๓ ต.ค.๒๕๔๕
๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ หรือหมายค้นต่อศาลยุติธรรม ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วย แนวปฏิบัติในการออกหมายจับและหมายค้นในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕ ลง ๓ ต.ค.๒๕๔๕
การยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังระหว่างสอบสวน
๑. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายขังต่อศาลทหาร ที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม จะยื่นคำร้องขอออกหมายขังต่อศาลยุติธรรม ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยแนวปฏิบัติในการออกหมายขังในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕ ลง ๗ ต.ค.๒๕๔๕ ก็ได้
๓. การยื่นคำร้องขอให้ศาลทหารออกหมายจับ หมายค้นหรือหมายขัง ให้พึงระมัดระวังเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลทหารจังหวัด และศาลมณฑลทหารด้วย เนื่องจากศาลทหารไม่ได้เปิดทำการทุกจังหวัด ตามที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำนาจศาลทหารจังหวัดและศาลมณฑลทหาร พ.ศ.๒๕๓๓ รวมทั้งให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์เรื่องชั้นยศทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๙,๒๑,๒๒ ด้วย เช่น ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร ศาลมณฑลทหาร และศาลประจำหน่วยทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นนายพล หรือเทียบเท่า เป็นต้น
คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้พิจารณาดำเนินการตามลำดับดังนี้
๑. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ไม่ว่าคดีนั้นจะมีอัตราโทษอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือไม่ก็ตาม และบุคคลนั้นจะให้การรับสารภาพหรือไม่ก็ตาม ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เช่น คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน หรือคดีที่เกี่ยวพันกันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน และเป็นคดีที่มีอัตราโทษอยู่ในอำนาจศาลแขวง หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง โดยแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบการจับกุมและการฟ้องด้วย