ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงาน
กรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา
พ.ศ. ๒๕๔๔
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย
เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดคดีอาญา
เนื่องจากบัดนี้มีการโอนกรมตำรวจจากกระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับตำรวจ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง และวิธีพิจารณาความอาญาใหม่แล้ว
ประกอบกับข้อตกลงบางข้อไม่สอดคล้องกับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมในเวลาปกติอันมิใช่ภาวะสงคราม
จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพสังคม
และกฎหมายโดยเฉพาะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งควรกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติให้ชัดเจน
สะดวกต่อผู้ปฏิบัติและสามารถดำเนินการได้รวดเร็วไม่เสียหายต่อรูปคดีโดยคำนึงถึงหลักความสามัคคีปรองดอง
และหลักการประสานงานระหว่างตำรวจ
ทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองในการร่วมมือและอำนวยความสะดวก เพื่อป้องปราม
ป้องกันหรือระงับเหตุวิวาทมิให้ลุกลามต่อไป
อันจะช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ประการหนึ่ง
ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงแบบธรรมเนียมของแต่ละฝ่าย
ตลอดจนความจำเป็นขององค์กรในการดูแลรักษาสถานที่ ยานพาหนะ
และอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนให้ปลอดภัยและปกครองดูแลบุคลากรให้อยู่ในวินัยและได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี
เป็นธรรมตามควรแก่กรณี แต่ทั้งนี้ต้องมิให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น
หรือฝ่าฝืนกฎหมายที่มีเพื่อคุ้มครองบุคคลทั่วไปโดยเสมอกัน
อันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑
(๘) และ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา
พ.ศ. ๒๕๔๔
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
๓.๑ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘
๓.๒ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติกระสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ.๒๕๐๗
๓.๓ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๑๒
๓.๔ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๑๘
๓.๕ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๒๕บรรดาข้อตกลง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“เขตที่ตั้งทหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณซึ่งมีหน่วยทหารตั้งอยู่
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา
“ตำรวจ” หมายความว่า ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
“ทหาร” หมายความว่า ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
“พนักงานฝ่ายปกครอง” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งมิใช่ตำรวจและทหาร แต่มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น
“สิ่งสื่อสาร” หมายความรวมถึง จดหมาย โทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร โทรพิมพ์ วิทยุ และการติดต่อสื่อสารส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด
ข้อ ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา ข้อ ๖ องค์ประกอบของคณะกรรมการให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ
(๔) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
(๕) ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ
(๖) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมอบหมายเป็นกรรมการ
(๗) รองอัยการสูงสุดคนหนึ่งตามที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นกรรมการ
(๘) ข้าราชการตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไปคนหนึ่งตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมายเป็นกรรมการ
(๙) อธิบดีกรมการปกครอง เป็นกรรมการ
(๑๐) เจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๗ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) วางมาตรการป้องกัน แก้ไข วินิจฉัย สั่งการหรือให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้เสียหายที่ต้องร้องเรียนเมื่อมีปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการใช้ระเบียบนี้ ในกรณีที่เห็นว่าปัญหาใดเป็นเรื่องสำคัญอันควรได้รับคำวินิจฉัยหรือสั่งการให้มีผลเป็นการทั่วไปให้เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
(๒) ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบของหนังสือ ขั้นตอนหรือรายละเอียดในการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา ตลอดจนข้อกำหนดว่าด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง และตำรวจ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ข้อกำหนดดังกล่าวให้มีผลเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) เสนอนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา
(๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายให้บุคคลใดช่วยในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
บุคคลใดเห็นว่าตนหรือสมาชิกในครอบครัวของตนได้รับความเสียหายหรือความไม่เป็นธรรม เนื่องจากการที่ทหาร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ อ้างการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือละเลยการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายเพื่อแนะนำ วินิจฉัยหรือสั่งการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๒ การประสานงานระหว่างทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ข้อ ๘ การประสานงานก่อนเกิดเหตุ
ให้ผู้บังคับบัญชาของทหาร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีความสามัคคีระหว่างกัน และพยายามป้องกันหรือระงับความขัดแย้งเพื่อมิให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณนอกเขตที่ตั้งทหารในการนี้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจขอให้ฝ่ายทหารจัดส่งสารวัตรทหารหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไปร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยในบางสถานที่หรือบางโอกาสเพื่อป้องปรามหรือ ป้องกันเหตุร้ายได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๙ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจขอความร่วมมือจากทหารในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจสืบทราบว่า ทหารจะกระทำความผิดอาญา ใช้อิทธิพลในทางมิชอบ ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน หรือจะมีการก่อเหตุวิวาทนอกเขตที่ตั้งทหาร ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยฝ่ายทหารทั้งหมดหรือมีทหารร่วมอยู่ด้วย ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตักเตือนห้ามปรามไปตามอำนาจหน้าที่ ถ้าเกรงว่าจะไม่เป็นผลให้แจ้งเหตุแก่ฝ่ายทหารโดยด่วน เพื่อขอความร่วมมือในการสอดส่องตรวจตรา ระงับยับยั้งหรือป้องกันมิให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้น
เมื่อมีการร้องขอหรือแจ้งเหตุดังกล่าว ให้ฝ่ายทหารให้ความร่วมมือตามความจำเป็น ทั้งนี้ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุต้องสวมเครื่องแบบ ส่วนจะนำอาวุธไปด้วยหรือไม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นหัวหน้าหน่วยของฝ่ายนั้นๆ แต่มิให้ใช้อาวุธ เว้นแต่จะมีความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หัวหน้าชุดของแต่ละฝ่ายที่จะควบคุมไปต้องเป็นข้าราชการ นายทหาร หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ห้ามมิให้ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่มิได้รับคำสั่ง ไปยังสถานที่นั้นเองเป็นอันขาด
ข้อ ๑๐ ทหารขอความร่วมมือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เมื่อฝ่ายทหารจับกุมตัวทหารที่ถูกหาว่ากระทำผิดวินัยทหาร หรือกระทำความผิดอาญาได้ และประสงค์จะใช้สถานที่ สิ่งสื่อสาร หรือยานพาหนะของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เพื่อการสอบสวน หรือดำเนินการในส่วนของทหาร ให้ขอความร่วมมือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๑ หน่วยประสานงานการร้องขอ
การขอความร่วมมือหรือการแจ้งเหตุใดๆต่อฝ่ายทหารตามระเบียบนี้ นอกจากการประสานงานกับผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของทหารผู้เกี่ยวข้อง หรือหน่วยทหารในเขตที่ตั้งทหารซึ่งใกล้ที่สุดกับบริเวณที่เกิดเหตุ หรือเชื่อว่าจะเกิดเหตุ โดยใช้สิ่งสื่อสารแล้ว พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจประสานโดยใช้สิ่งสื่อสารกับหน่วยทหารอื่นในพื้นที่ได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๒ การรายงานคดี
ในกรณีที่นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการหรือข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาอันมิใช่ความผิดลหุโทษ ความผิดประเภทที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ หรือคดีที่เสร็จสิ้นหรือระงับไปในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว ให้พนักงานสอบสวนรายงานคดีตามลำดับถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ได้รับมอบหมายเพื่อแจ้งให้กระทรวงกลาโหมทราบ
หมวด ๓ การจับกุม การควบคุมและการรับตัวทหารไปควบคุม
ข้อ ๑๓ การจับกุมทหาร
ในกรณีมีคำสั่งหรือหมายของศาลให้จับทหารผู้ใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบในโอกาสแรก เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่กฎหมายให้จับได้โดยไม่ต้องมีหมาย หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าทหารผู้นั้นจะหลบหนีการจับกุมตามหมาย
ในการจับกุมทหารผู้ใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งให้ทหารผู้นั้นไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หากไม่ยอมไป ขัดขวาง หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี ให้จับกุมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๗ โดยอาจร้องขอให้สารวัตรทหารช่วยควบคุมตัวผู้นั้น ไปส่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ หากทหารมีจำนวนมาก ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ โดยเร็วเพื่อมาช่วยระงับเหตุและร่วมมือในการจับกุมทหารผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในการจับกุมตามวรรคหนึ่ง หากทหารผู้นั้นสวมเครื่องแบบอยู่ ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ โดยอนุโลม และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องพันธนาการ เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและมิให้ใช้อาวุธระหว่างการจับกุมโดยไม่จำเป็นถ้าเป็นกรณีทหารและตำรวจหรือ พนักงานฝ่ายปกครองกำลังก่อการวิวาทกัน ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาของแต่ละฝ่ายทราบทันทีและให้ผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง รีบออกไประงับเหตุโดยเร็วส่วนการดำเนินการขั้นต่อไปให้ปฏิบัติตามความ
ในวรรคก่อน
ข้อ ๑๔ การควบคุมตัวทหาร
การควบคุมตัวทหารที่ถูกหาว่ากระทำความผิดอาญาและถูกจับกุมตัวไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าทหารที่ถูกจับกุมและควบคุมตัวสวมเครื่องแบบ ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจดำเนินการดังนี้
(๑) แนะนำให้ทหารผู้นั้นทราบถึงเกียรติของเครื่องแบบทหาร และขอให้พิจารณาว่าจะถอดเครื่องแบบหรือไม่
(๒) ถ้าทหารไม่ยอมถอดเครื่องแบบ ให้แจ้งฝ่ายทหารทราบ เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมาแนะนำให้ถอดเครื่องแบบแล้วดำเนินการตามวรรคแรก หากฝ่ายทหารไม่มาภายในระยะเวลาอันสมควรหรือระยะเวลาที่กำหนด หรือดำเนินการใดๆ แล้วไม่เป็นผล ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมาปฏิบัติตามวรรคแรกได้ และบันทึกเหตุผลไว้ แล้วแจ้งเหตุนั้นให้ฝ่ายทหารทราบ
ข้อ ๑๕ การปล่อยชั่วคราว
การปล่อยชั่วคราวหรือการพิจารณาคำขอประกันทหารผู้ต้องหาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๙ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการนี้เช่นเดียวกับผู้ต้องหาทั่วไป
ข้อ ๑๖ การรับตัวทหาร
เมื่อควบคุมตัวทหารไว้ตามข้อ ๑๔ แล้ว ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งการจับกุมให้ฝ่ายทหารที่เป็นผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบทางสิ่งสื่อสาร หรือหนังสือโดยไม่ชักช้า และให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) หากฝ่ายทหารแจ้งว่าไม่ประสงค์จะรับตัวผู้ต้องหานั้นไปหรือไม่มาขอรับตัวภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานสอบสวนควบคุมตัวและดำเนินการไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ฝ่ายทหารอาจแจ้งขอรับตัวมาภายหลังจากนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ดำเนินการตาม (๒)
(๒) หากฝ่ายทหารแจ้งว่าประสงค์จะรับตัวผู้ต้องหาไปจากพนักงานสอบสวนก็ให้นำหนังสือขอรับตัวผู้ต้องหามาแสดงต่อพนักงานสอบสวน ในกรณีนี้ให้พนักงานสอบสวนทำหนังสือส่งมอบตัว และให้บันทึกเป็นหลักฐานรวมเข้าสำนวนไว้ พร้อมกับลงบันทึกในรายงานประจำวันด้วย
(๓) หากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่ามีความจำเป็นในทางคดีที่จะต้องนำตัวทหารไปดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมพยานหลักฐานนอกจากการสอบปากคำ เช่น การนำชี้สถานที่เกิดเหตุ การชี้ตัว การทำแผนประทุษกรรม อาจขอดำเนินการก่อนที่จะส่งมอบตัวทหารผู้ต้องหาให้ฝ่ายทหารรับตัวไปก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้ต้องหาต้องการให้ฝ่ายทหาร ทนายความ หรือผู้อื่นซึ่งตนไว้วางใจอยู่ในสถานที่นั้นด้วย ก็ให้อนุญาตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๔๑ และมาตรา ๒๔๒
หนังสือขอรับตัวและหนังสือส่งมอบตัวผู้ต้องหาตามข้อนี้ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ในการรับตัวทหารไปจากพนักงานสอบสวน หากพนักงานสอบสวนเห็นควรให้ฝ่ายทหารควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เพื่อประโยชน์ทางคดี ก็ให้แจ้งเป็นหนังสือและให้ฝ่ายทหารดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารการรับตัวทหารที่ได้รับบาดเจ็บและถูกควบคุมตัวไว้ ณ สถานพยาบาลให้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น แต่ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
หมวด ๔ การตรวจค้น
ข้อ ๑๗ การตรวจค้นตัวบุคคล
การตรวจค้นตัวทหาร ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๑๘ การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐาน
การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐานของทหารที่ไม่เกี่ยวกับราชการทหารให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๘
การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐานอันเป็นเขตที่ตั้งทหารหรือของทางราชการทหาร นอกจากจะต้องปฏิบัติตามวรรคก่อนแล้ว ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจค้นแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบเขตที่ตั้งทหารนั้น ส่งผู้แทนไปอยู่ในการตรวจค้นด้วย
ข้อ ๑๙ การตรวจค้นยานพาหนะ
การตรวจค้นยานพาหนะของทหารไม่ว่าจะเป็นของส่วนตัวหรือทางราชการทหารหรือการค้นตัวทหารที่อยู่ในยานพาหนะนั้นไม่ว่าจะสวมเครื่องแบบหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญ และให้ทหารผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมยานพาหนะให้ความร่วมมือและความสะดวกจนกว่าการตรวจค้นจะเสร็จสิ้น
การตรวจค้นยานพาหนะของทางราชการทหาร เช่น รถสงคราม เครื่องบิน เรือซึ่งชักธงราชนาวี ขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมีนายทหารชั้นสัญญาบัตรควบคุมยานพาหนะนั้นมา ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นจะตรวจค้นได้ต่อเมื่อมีหนังสืออนุมัติจากผู้บังคับบัญชายานพาหนะนั้น ๆ ตั้งแต่ชั้นผู้บังคับบัญชากองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป
การตรวจค้นยานพาหนะของทางราชการทหารอันผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้เป็นหัวหน้าของหน่วยนั้นมีหนังสือรับรองว่าจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติการยุทธพึงเสียเปรียบให้งดการตรวจค้น
ข้อ ๒๐ การตรวจค้นสิ่งของราชการลับ
ในการตรวจค้น ถ้าได้รับแจ้งจากฝ่ายทหารว่าสิ่งของใดเป็นของราชการลับทางทหาร ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) เมื่อนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทำหนังสือรับรองกำกับสิ่งของนั้นและแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทราบ ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นงดเว้นการตรวจเฉพาะสิ่งของดังกล่าว แล้วทำบันทึกเหตุงดเว้นการตรวจค้น พร้อมทั้งลงชื่อรับรองทุกฝ่ายแล้วรีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
(๒) ถ้าผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นปลัดอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจขึ้นไปยังติดใจสงสัยที่จะตรวจค้น ให้ทำเครื่องหมายลงชื่อทุกฝ่ายปิดผนึกหรือกำกับไว้ที่หีบห่อหรือภาชนะบรรจุสิ่งของนั้นแล้วจัดส่งสิ่งของนั้นไปยังสถานที่ปลายทางตามที่ตกลงกันเพื่อร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดตรวจสิ่งของนั้นต่อไป
ถ้าสิ่งของใดอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ตรวจค้นหรือก่อให้เกิดความเสียหายอันจะทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของราชการลับหรือไม่ก็ตาม ให้ดำเนินการตามวรรคก่อนโดยอนุโลม
การตรวจค้นสิ่งของใดอันผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้เป็นหัวหน้าของหน่วยนั้นมีหนังสือรับรองว่าจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติการยุทธ
พึงเสียเปรียบให้งดการตรวจค้น
ข้อ ๒๑ การประสานการตรวจค้น
ในการตรวจค้นตัวบุคคล สถานที่และที่รโหฐาน ยานพาหนะหรือสิ่งของตามหมวดนี้ ให้กระทำในเวลาและสถานที่อันสมควรโดยใช้ความสุภาพนุ่มนวลตามควรแก่กรณี ถ้ามีสารวัตรทหารอยู่ ณ สถานที่หรือบริเวณที่จะตรวจค้น ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นประสาน โดยขอสารวัตรทหารมาร่วมเป็นพยานในการตรวจค้นด้วย แต่ถ้าไม่มีหรือมีแต่สารวัตรทหารไม่ยินยอมร่วมเป็นพยานก็ให้บันทึกไว้ และเมื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นดำเนินการเสร็จแล้ว ให้ทำบันทึกพร้อมกับให้ทุกฝ่ายลงชื่อรับรองและต่างยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ
หมวด ๕ การสอบสวน
ข้อ ๒๒ การสอบสวนคดีทหาร
ฝ่ายทหารจะทำการสอบสวนการกระทำความผิดของทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(๑) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
(๒) คดีที่ผู้กระทำผิดและผู้เสียหายต่างอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยกันตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเขตที่ตั้งทหารหรือไม่ก็ตาม
(๓) คดีอาญาทีเกี่ยวด้วยวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
(๔) คดีอาญาที่เกี่ยวด้วยความลับของทางราชการทหาร
ในกรณีที่ฝ่ายทหารร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน โดยลำพังหรือร่วมกับฝ่ายทหารหรือช่วยดำเนินการอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานเช่น การสืบสวน การค้นหรือการจับกุม ให้พนักงานสอบสวนให้ความร่วมมือตามที่ฝ่ายทหารร้องขอคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษไว้ก่อนแล้ว หรือได้ประสบเหตุและมีความจำเป็นต้องสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ ถ้าฝ่ายทหารขอรับตัวทหารผู้ต้องหาไปดำเนินการ ให้มอบตัวและสำนวนการสอบสวนให้ไป แต่ถ้าฝ่ายทหารไม่มารับตัวและไม่แจ้งข้อขัดข้องให้ทราบ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปได้จนเสร็จสิ้น
ข้อ ๒๓ การสอบสวนคดีอาญาในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบ แล้วดำเนินการสอบสวนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ต้องหาทราบ ดังนี้
(๑) สิทธิที่จะขอประกันตัวตามมาตรา ๒๓๙
(๒) สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัวในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙
(๓) สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควรในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙
(๔) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรมตามมาตรา ๒๔๑
(๕) สิทธิที่จะให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจ เช่น นายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตร เข้าฟังการสอบปากคำของตนได้ตามมาตรา ๒๔๑
(๖) สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วตามมาตรา ๒๔๑
(๗) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายตามมาตรา ๒๔๒
(๘) สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญาตามมาตรา๒๔๓
(๙) สิทธิที่จะได้รับการเตือนว่าถ้อยคำซึ่งเกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ถูกทรมาน ใช้กำลังบังคับหรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา ๒๔๓
ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าทหารผู้ต้องหาได้กระทำหรือจะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหารหรือกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารด้วย ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหาอาจส่งนายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรอื่นใดเข้าฟังการสอบปากคำทหารผู้ต้องหาก็ได้ให้นำข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ มาใช้กับการควบคุมตัวและการปล่อยชั่วคราวทหารผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงกำหนดเวลาควบคุมตัวตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร และประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาด้วย ในกรณีที่ฝ่ายทหารเห็นว่าการสอบสวนล่าช้า จะขอให้พนักงานสอบสวนเร่งรัดหรือชี้แจงเหตุผลก็ได้
ข้อ ๒๔ คดีในอำนาจศาลแขวงและคดีที่เปรียบเทียบได้
ถ้าทหารผู้ต้องหาคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงให้การรับสารภาพตลอดข้อหาให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง โดยแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบการจับกุมและการฟ้องคดีด้วย
ถ้าคดีอาญาที่ทหารต้องหาว่ากระทำความผิดนั้นอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะเปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ก็ตาม และทหารผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบได้ ให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบตาม อำนาจหน้าที่ ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ ก็ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการหรืออัยการทหารเพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ ๒๕ การสอบสวนกรณีทหารและตำรวจก่อการวิวาทกัน
ในกรณีที่ทหารและตำรวจก่อการวิวาทกันไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นร่วมกระทำความผิดหรือได้รับความเสียหายด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ฝ่ายตำรวจรายงานตามลำดับชั้นถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหากเหตุเกิดในกรุงเทพมหานคร หรือหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หากเหตุเกิดในจังหวัดอื่น เพื่อให้แต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันระหว่างฝ่ายตำรวจกับฝ่ายทหารมีจำนวนตามความจำเป็นแห่งรูปคดี โดยให้แต่ละฝ่ายมีจำนวนเท่ากัน เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจสั่งคดีไปตามอำนาจหน้าที่ประกอบกับผลการสอบสวนนั้น แต่ถ้าความเห็นของคณะพนักงานร่วมกันของฝ่ายตำรวจไม่ตรงกับฝ่าย ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีความเห็นทางคดีแล้วส่งสำนวนคดีให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป
หากพนักงานสอบสวนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มาร่วมการสอบสวนตามกำหนดนัด ให้คณะพนักงานสอบสวนร่วมกันเท่าที่มีอยู่ดำเนินการสอบสวนต่อไป จนแล้วเสร็จเพื่อมิให้การสอบสวนล่าช้าจนเกิดความเสียหายหรือเป็นผลให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานทั้งนี้ ให้บันทึกการที่ฝ่ายใด
ไม่มาร่วมทำการสอบสวนติดสำนวนไว้ด้วย
ในระหว่างรอการแต่งตั้งหรือรอการประชุมคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อมิให้เสียหายแก่รูปคดีหรือ เพื่อประโยชน์แก่ความเที่ยงธรรมของคดี
ข้อ ๒๖ การชันสูตรพลิกศพ
ในกรณีที่ทหารตายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ให้จัดให้มีการสอบสวนและชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา และให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารหรือหน่วยทหารตามข้อ ๑๑ ทราบเพื่อส่งนายทหาร สัญญาบัตรเข้าฟังการสอบสวนและร่วมสังเกตการชันสูตรพลิกศพด้วย
หมวด ๖ การส่งสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๒๗ การส่งสำนวนและผู้ต้องหาให้อัยการ
เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นลง ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้
(๑) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไปส่วนผู้ต้องหานั้น ถ้าได้มอบตัวให้ผู้บังคับบัญชารับไปควบคุมไว้ก่อนแล้วตามข้อ ๑๖ ก็อาจไม่ต้องขอรับตัวมาดำเนินการอีก แต่ให้บันทึกและแจ้งให้อัยการทหารทราบว่าได้มอบตัวผู้ต้องหาให้ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรับตัวไปแล้วตั้งแต่เมื่อใด
(๒) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งตัวทหารผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ
เพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป การส่งตัวทหารผู้ต้องหาที่อยู่ในการควบคุมของผู้บังคับบัญชา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อส่งตัวทหารผู้นั้นมายังพนักงานสอบสวนตามสถานที่และเวลาที่กำหนดเพื่อส่งให้พนักงานอัยการพร้อมกับสำนวน
ในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งฟ้องไม่ทันในวันนั้น หากมิได้มีการสั่งให้ปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานอัยการมอบตัวผู้ต้องหาให้อยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนสำหรับในกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ฝากตัวผู้ต้องหาให้เรือนจำควบคุมไว้
ข้อ ๒๘ การส่งสำนวนให้อัยการทหาร
ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารต่อไปในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) คดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้และเปรียบเทียบเสร็จแล้วหรือทหารผู้ต้องหาไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ตามข้อ ๒๔ วรรคสอง
(๒) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและยังจับตัวทหารผู้ต้องหาไม่ได้
(๓) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและจับตัวทหารผู้ต้องหาได้แต่หลักฐานไม่พอฟ้องหรือพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง.............
(๔) กรณีมีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของฝ่ายทหารซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่
(๕) กรณีที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีทหารตามที่ฝ่ายทหารร้องขอตามข้อ ๒๒ วรรคสอง เสร็จสิ้นแล้ว
ในกรณีที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ทำการสอบสวนเกี่ยวกับคดีที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพเมื่อพนักงานสอบสวนชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสร็จแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปให้เจ้าหน้าที่สอบสวนฝ่ายทหารตามที่ได้รับการร้องขอ
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
๓.๑ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘
๓.๒ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติกระสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ.๒๕๐๗
๓.๓ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๑๒
๓.๔ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๑๘
๓.๕ ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๒๕บรรดาข้อตกลง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
“เขตที่ตั้งทหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณซึ่งมีหน่วยทหารตั้งอยู่
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา
“ตำรวจ” หมายความว่า ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
“ทหาร” หมายความว่า ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
“พนักงานฝ่ายปกครอง” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งมิใช่ตำรวจและทหาร แต่มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น
“สิ่งสื่อสาร” หมายความรวมถึง จดหมาย โทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร โทรพิมพ์ วิทยุ และการติดต่อสื่อสารส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด
ข้อ ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๑ คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา ข้อ ๖ องค์ประกอบของคณะกรรมการให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ
(๔) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
(๕) ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการ
(๖) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมอบหมายเป็นกรรมการ
(๗) รองอัยการสูงสุดคนหนึ่งตามที่อัยการสูงสุดมอบหมายเป็นกรรมการ
(๘) ข้าราชการตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไปคนหนึ่งตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมายเป็นกรรมการ
(๙) อธิบดีกรมการปกครอง เป็นกรรมการ
(๑๐) เจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๗ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) วางมาตรการป้องกัน แก้ไข วินิจฉัย สั่งการหรือให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้เสียหายที่ต้องร้องเรียนเมื่อมีปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการใช้ระเบียบนี้ ในกรณีที่เห็นว่าปัญหาใดเป็นเรื่องสำคัญอันควรได้รับคำวินิจฉัยหรือสั่งการให้มีผลเป็นการทั่วไปให้เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
(๒) ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบของหนังสือ ขั้นตอนหรือรายละเอียดในการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา ตลอดจนข้อกำหนดว่าด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง และตำรวจ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ข้อกำหนดดังกล่าวให้มีผลเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) เสนอนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา
(๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายให้บุคคลใดช่วยในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
บุคคลใดเห็นว่าตนหรือสมาชิกในครอบครัวของตนได้รับความเสียหายหรือความไม่เป็นธรรม เนื่องจากการที่ทหาร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ อ้างการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือละเลยการปฏิบัติตามระเบียบนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายเพื่อแนะนำ วินิจฉัยหรือสั่งการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๒ การประสานงานระหว่างทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ข้อ ๘ การประสานงานก่อนเกิดเหตุ
ให้ผู้บังคับบัญชาของทหาร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีความสามัคคีระหว่างกัน และพยายามป้องกันหรือระงับความขัดแย้งเพื่อมิให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณนอกเขตที่ตั้งทหารในการนี้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจขอให้ฝ่ายทหารจัดส่งสารวัตรทหารหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไปร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยในบางสถานที่หรือบางโอกาสเพื่อป้องปรามหรือ ป้องกันเหตุร้ายได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๙ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจขอความร่วมมือจากทหารในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจสืบทราบว่า ทหารจะกระทำความผิดอาญา ใช้อิทธิพลในทางมิชอบ ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน หรือจะมีการก่อเหตุวิวาทนอกเขตที่ตั้งทหาร ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยฝ่ายทหารทั้งหมดหรือมีทหารร่วมอยู่ด้วย ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตักเตือนห้ามปรามไปตามอำนาจหน้าที่ ถ้าเกรงว่าจะไม่เป็นผลให้แจ้งเหตุแก่ฝ่ายทหารโดยด่วน เพื่อขอความร่วมมือในการสอดส่องตรวจตรา ระงับยับยั้งหรือป้องกันมิให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้น
เมื่อมีการร้องขอหรือแจ้งเหตุดังกล่าว ให้ฝ่ายทหารให้ความร่วมมือตามความจำเป็น ทั้งนี้ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุต้องสวมเครื่องแบบ ส่วนจะนำอาวุธไปด้วยหรือไม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นหัวหน้าหน่วยของฝ่ายนั้นๆ แต่มิให้ใช้อาวุธ เว้นแต่จะมีความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หัวหน้าชุดของแต่ละฝ่ายที่จะควบคุมไปต้องเป็นข้าราชการ นายทหาร หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ห้ามมิให้ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่มิได้รับคำสั่ง ไปยังสถานที่นั้นเองเป็นอันขาด
ข้อ ๑๐ ทหารขอความร่วมมือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เมื่อฝ่ายทหารจับกุมตัวทหารที่ถูกหาว่ากระทำผิดวินัยทหาร หรือกระทำความผิดอาญาได้ และประสงค์จะใช้สถานที่ สิ่งสื่อสาร หรือยานพาหนะของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เพื่อการสอบสวน หรือดำเนินการในส่วนของทหาร ให้ขอความร่วมมือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๑ หน่วยประสานงานการร้องขอ
การขอความร่วมมือหรือการแจ้งเหตุใดๆต่อฝ่ายทหารตามระเบียบนี้ นอกจากการประสานงานกับผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของทหารผู้เกี่ยวข้อง หรือหน่วยทหารในเขตที่ตั้งทหารซึ่งใกล้ที่สุดกับบริเวณที่เกิดเหตุ หรือเชื่อว่าจะเกิดเหตุ โดยใช้สิ่งสื่อสารแล้ว พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจอาจประสานโดยใช้สิ่งสื่อสารกับหน่วยทหารอื่นในพื้นที่ได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๒ การรายงานคดี
ในกรณีที่นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการหรือข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตรต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาอันมิใช่ความผิดลหุโทษ ความผิดประเภทที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ หรือคดีที่เสร็จสิ้นหรือระงับไปในชั้นพนักงานสอบสวนแล้ว ให้พนักงานสอบสวนรายงานคดีตามลำดับถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ได้รับมอบหมายเพื่อแจ้งให้กระทรวงกลาโหมทราบ
หมวด ๓ การจับกุม การควบคุมและการรับตัวทหารไปควบคุม
ข้อ ๑๓ การจับกุมทหาร
ในกรณีมีคำสั่งหรือหมายของศาลให้จับทหารผู้ใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบในโอกาสแรก เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่กฎหมายให้จับได้โดยไม่ต้องมีหมาย หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าทหารผู้นั้นจะหลบหนีการจับกุมตามหมาย
ในการจับกุมทหารผู้ใด ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งให้ทหารผู้นั้นไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หากไม่ยอมไป ขัดขวาง หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี ให้จับกุมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๗ โดยอาจร้องขอให้สารวัตรทหารช่วยควบคุมตัวผู้นั้น ไปส่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ หากทหารมีจำนวนมาก ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ โดยเร็วเพื่อมาช่วยระงับเหตุและร่วมมือในการจับกุมทหารผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในการจับกุมตามวรรคหนึ่ง หากทหารผู้นั้นสวมเครื่องแบบอยู่ ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ โดยอนุโลม และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องพันธนาการ เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและมิให้ใช้อาวุธระหว่างการจับกุมโดยไม่จำเป็นถ้าเป็นกรณีทหารและตำรวจหรือ พนักงานฝ่ายปกครองกำลังก่อการวิวาทกัน ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาของแต่ละฝ่ายทราบทันทีและให้ผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง รีบออกไประงับเหตุโดยเร็วส่วนการดำเนินการขั้นต่อไปให้ปฏิบัติตามความ
ในวรรคก่อน
ข้อ ๑๔ การควบคุมตัวทหาร
การควบคุมตัวทหารที่ถูกหาว่ากระทำความผิดอาญาและถูกจับกุมตัวไปยังที่ทำการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าทหารที่ถูกจับกุมและควบคุมตัวสวมเครื่องแบบ ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจดำเนินการดังนี้
(๑) แนะนำให้ทหารผู้นั้นทราบถึงเกียรติของเครื่องแบบทหาร และขอให้พิจารณาว่าจะถอดเครื่องแบบหรือไม่
(๒) ถ้าทหารไม่ยอมถอดเครื่องแบบ ให้แจ้งฝ่ายทหารทราบ เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมาแนะนำให้ถอดเครื่องแบบแล้วดำเนินการตามวรรคแรก หากฝ่ายทหารไม่มาภายในระยะเวลาอันสมควรหรือระยะเวลาที่กำหนด หรือดำเนินการใดๆ แล้วไม่เป็นผล ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมาปฏิบัติตามวรรคแรกได้ และบันทึกเหตุผลไว้ แล้วแจ้งเหตุนั้นให้ฝ่ายทหารทราบ
ข้อ ๑๕ การปล่อยชั่วคราว
การปล่อยชั่วคราวหรือการพิจารณาคำขอประกันทหารผู้ต้องหาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๙ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการนี้เช่นเดียวกับผู้ต้องหาทั่วไป
ข้อ ๑๖ การรับตัวทหาร
เมื่อควบคุมตัวทหารไว้ตามข้อ ๑๔ แล้ว ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแจ้งการจับกุมให้ฝ่ายทหารที่เป็นผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบทางสิ่งสื่อสาร หรือหนังสือโดยไม่ชักช้า และให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) หากฝ่ายทหารแจ้งว่าไม่ประสงค์จะรับตัวผู้ต้องหานั้นไปหรือไม่มาขอรับตัวภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานสอบสวนควบคุมตัวและดำเนินการไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ฝ่ายทหารอาจแจ้งขอรับตัวมาภายหลังจากนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ดำเนินการตาม (๒)
(๒) หากฝ่ายทหารแจ้งว่าประสงค์จะรับตัวผู้ต้องหาไปจากพนักงานสอบสวนก็ให้นำหนังสือขอรับตัวผู้ต้องหามาแสดงต่อพนักงานสอบสวน ในกรณีนี้ให้พนักงานสอบสวนทำหนังสือส่งมอบตัว และให้บันทึกเป็นหลักฐานรวมเข้าสำนวนไว้ พร้อมกับลงบันทึกในรายงานประจำวันด้วย
(๓) หากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเห็นว่ามีความจำเป็นในทางคดีที่จะต้องนำตัวทหารไปดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมพยานหลักฐานนอกจากการสอบปากคำ เช่น การนำชี้สถานที่เกิดเหตุ การชี้ตัว การทำแผนประทุษกรรม อาจขอดำเนินการก่อนที่จะส่งมอบตัวทหารผู้ต้องหาให้ฝ่ายทหารรับตัวไปก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ถ้าผู้ต้องหาต้องการให้ฝ่ายทหาร ทนายความ หรือผู้อื่นซึ่งตนไว้วางใจอยู่ในสถานที่นั้นด้วย ก็ให้อนุญาตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๔๑ และมาตรา ๒๔๒
หนังสือขอรับตัวและหนังสือส่งมอบตัวผู้ต้องหาตามข้อนี้ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ในการรับตัวทหารไปจากพนักงานสอบสวน หากพนักงานสอบสวนเห็นควรให้ฝ่ายทหารควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้เพื่อประโยชน์ทางคดี ก็ให้แจ้งเป็นหนังสือและให้ฝ่ายทหารดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารการรับตัวทหารที่ได้รับบาดเจ็บและถูกควบคุมตัวไว้ ณ สถานพยาบาลให้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้น แต่ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
หมวด ๔ การตรวจค้น
ข้อ ๑๗ การตรวจค้นตัวบุคคล
การตรวจค้นตัวทหาร ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๑๘ การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐาน
การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐานของทหารที่ไม่เกี่ยวกับราชการทหารให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๓๘
การตรวจค้นสถานที่และที่รโหฐานอันเป็นเขตที่ตั้งทหารหรือของทางราชการทหาร นอกจากจะต้องปฏิบัติตามวรรคก่อนแล้ว ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจค้นแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้รับผิดชอบเขตที่ตั้งทหารนั้น ส่งผู้แทนไปอยู่ในการตรวจค้นด้วย
ข้อ ๑๙ การตรวจค้นยานพาหนะ
การตรวจค้นยานพาหนะของทหารไม่ว่าจะเป็นของส่วนตัวหรือทางราชการทหารหรือการค้นตัวทหารที่อยู่ในยานพาหนะนั้นไม่ว่าจะสวมเครื่องแบบหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญ และให้ทหารผู้ครอบครองหรือผู้ควบคุมยานพาหนะให้ความร่วมมือและความสะดวกจนกว่าการตรวจค้นจะเสร็จสิ้น
การตรวจค้นยานพาหนะของทางราชการทหาร เช่น รถสงคราม เครื่องบิน เรือซึ่งชักธงราชนาวี ขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมีนายทหารชั้นสัญญาบัตรควบคุมยานพาหนะนั้นมา ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นจะตรวจค้นได้ต่อเมื่อมีหนังสืออนุมัติจากผู้บังคับบัญชายานพาหนะนั้น ๆ ตั้งแต่ชั้นผู้บังคับบัญชากองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป
การตรวจค้นยานพาหนะของทางราชการทหารอันผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้เป็นหัวหน้าของหน่วยนั้นมีหนังสือรับรองว่าจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติการยุทธพึงเสียเปรียบให้งดการตรวจค้น
ข้อ ๒๐ การตรวจค้นสิ่งของราชการลับ
ในการตรวจค้น ถ้าได้รับแจ้งจากฝ่ายทหารว่าสิ่งของใดเป็นของราชการลับทางทหาร ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑) เมื่อนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทำหนังสือรับรองกำกับสิ่งของนั้นและแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจทราบ ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นงดเว้นการตรวจเฉพาะสิ่งของดังกล่าว แล้วทำบันทึกเหตุงดเว้นการตรวจค้น พร้อมทั้งลงชื่อรับรองทุกฝ่ายแล้วรีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
(๒) ถ้าผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นปลัดอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจขึ้นไปยังติดใจสงสัยที่จะตรวจค้น ให้ทำเครื่องหมายลงชื่อทุกฝ่ายปิดผนึกหรือกำกับไว้ที่หีบห่อหรือภาชนะบรรจุสิ่งของนั้นแล้วจัดส่งสิ่งของนั้นไปยังสถานที่ปลายทางตามที่ตกลงกันเพื่อร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดตรวจสิ่งของนั้นต่อไป
ถ้าสิ่งของใดอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ตรวจค้นหรือก่อให้เกิดความเสียหายอันจะทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของราชการลับหรือไม่ก็ตาม ให้ดำเนินการตามวรรคก่อนโดยอนุโลม
การตรวจค้นสิ่งของใดอันผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารผู้เป็นหัวหน้าของหน่วยนั้นมีหนังสือรับรองว่าจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติการยุทธ
พึงเสียเปรียบให้งดการตรวจค้น
ข้อ ๒๑ การประสานการตรวจค้น
ในการตรวจค้นตัวบุคคล สถานที่และที่รโหฐาน ยานพาหนะหรือสิ่งของตามหมวดนี้ ให้กระทำในเวลาและสถานที่อันสมควรโดยใช้ความสุภาพนุ่มนวลตามควรแก่กรณี ถ้ามีสารวัตรทหารอยู่ ณ สถานที่หรือบริเวณที่จะตรวจค้น ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นประสาน โดยขอสารวัตรทหารมาร่วมเป็นพยานในการตรวจค้นด้วย แต่ถ้าไม่มีหรือมีแต่สารวัตรทหารไม่ยินยอมร่วมเป็นพยานก็ให้บันทึกไว้ และเมื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ตรวจค้นดำเนินการเสร็จแล้ว ให้ทำบันทึกพร้อมกับให้ทุกฝ่ายลงชื่อรับรองและต่างยึดถือไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ
หมวด ๕ การสอบสวน
ข้อ ๒๒ การสอบสวนคดีทหาร
ฝ่ายทหารจะทำการสอบสวนการกระทำความผิดของทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(๑) คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
(๒) คดีที่ผู้กระทำผิดและผู้เสียหายต่างอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยกันตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเขตที่ตั้งทหารหรือไม่ก็ตาม
(๓) คดีอาญาทีเกี่ยวด้วยวินัยทหารตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
(๔) คดีอาญาที่เกี่ยวด้วยความลับของทางราชการทหาร
ในกรณีที่ฝ่ายทหารร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน โดยลำพังหรือร่วมกับฝ่ายทหารหรือช่วยดำเนินการอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานเช่น การสืบสวน การค้นหรือการจับกุม ให้พนักงานสอบสวนให้ความร่วมมือตามที่ฝ่ายทหารร้องขอคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษไว้ก่อนแล้ว หรือได้ประสบเหตุและมีความจำเป็นต้องสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วรีบแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบ ถ้าฝ่ายทหารขอรับตัวทหารผู้ต้องหาไปดำเนินการ ให้มอบตัวและสำนวนการสอบสวนให้ไป แต่ถ้าฝ่ายทหารไม่มารับตัวและไม่แจ้งข้อขัดข้องให้ทราบ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปได้จนเสร็จสิ้น
ข้อ ๒๓ การสอบสวนคดีอาญาในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นทราบ แล้วดำเนินการสอบสวนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้แจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ต้องหาทราบ ดังนี้
(๑) สิทธิที่จะขอประกันตัวตามมาตรา ๒๓๙
(๒) สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัวในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙
(๓) สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควรในกรณีถูกควบคุมหรือคุมขังตามมาตรา ๒๓๙
(๔) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรมตามมาตรา ๒๔๑
(๕) สิทธิที่จะให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจ เช่น นายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตร เข้าฟังการสอบปากคำของตนได้ตามมาตรา ๒๔๑
(๖) สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้วตามมาตรา ๒๔๑
(๗) สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายตามมาตรา ๒๔๒
(๘) สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญาตามมาตรา๒๔๓
(๙) สิทธิที่จะได้รับการเตือนว่าถ้อยคำซึ่งเกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ถูกทรมาน ใช้กำลังบังคับหรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา ๒๔๓
ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าทหารผู้ต้องหาได้กระทำหรือจะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหารหรือกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารด้วย ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหาอาจส่งนายทหารพระธรรมนูญ หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรอื่นใดเข้าฟังการสอบปากคำทหารผู้ต้องหาก็ได้ให้นำข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ มาใช้กับการควบคุมตัวและการปล่อยชั่วคราวทหารผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงกำหนดเวลาควบคุมตัวตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร และประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาด้วย ในกรณีที่ฝ่ายทหารเห็นว่าการสอบสวนล่าช้า จะขอให้พนักงานสอบสวนเร่งรัดหรือชี้แจงเหตุผลก็ได้
ข้อ ๒๔ คดีในอำนาจศาลแขวงและคดีที่เปรียบเทียบได้
ถ้าทหารผู้ต้องหาคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงให้การรับสารภาพตลอดข้อหาให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง โดยแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบการจับกุมและการฟ้องคดีด้วย
ถ้าคดีอาญาที่ทหารต้องหาว่ากระทำความผิดนั้นอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะเปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ก็ตาม และทหารผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบได้ ให้พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบตาม อำนาจหน้าที่ ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ ก็ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการหรืออัยการทหารเพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ ๒๕ การสอบสวนกรณีทหารและตำรวจก่อการวิวาทกัน
ในกรณีที่ทหารและตำรวจก่อการวิวาทกันไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นร่วมกระทำความผิดหรือได้รับความเสียหายด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ฝ่ายตำรวจรายงานตามลำดับชั้นถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหากเหตุเกิดในกรุงเทพมหานคร หรือหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หากเหตุเกิดในจังหวัดอื่น เพื่อให้แต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันระหว่างฝ่ายตำรวจกับฝ่ายทหารมีจำนวนตามความจำเป็นแห่งรูปคดี โดยให้แต่ละฝ่ายมีจำนวนเท่ากัน เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้น ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจสั่งคดีไปตามอำนาจหน้าที่ประกอบกับผลการสอบสวนนั้น แต่ถ้าความเห็นของคณะพนักงานร่วมกันของฝ่ายตำรวจไม่ตรงกับฝ่าย ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีความเห็นทางคดีแล้วส่งสำนวนคดีให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป
หากพนักงานสอบสวนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มาร่วมการสอบสวนตามกำหนดนัด ให้คณะพนักงานสอบสวนร่วมกันเท่าที่มีอยู่ดำเนินการสอบสวนต่อไป จนแล้วเสร็จเพื่อมิให้การสอบสวนล่าช้าจนเกิดความเสียหายหรือเป็นผลให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานทั้งนี้ ให้บันทึกการที่ฝ่ายใด
ไม่มาร่วมทำการสอบสวนติดสำนวนไว้ด้วย
ในระหว่างรอการแต่งตั้งหรือรอการประชุมคณะพนักงานสอบสวนร่วมกันตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อมิให้เสียหายแก่รูปคดีหรือ เพื่อประโยชน์แก่ความเที่ยงธรรมของคดี
ข้อ ๒๖ การชันสูตรพลิกศพ
ในกรณีที่ทหารตายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ให้จัดให้มีการสอบสวนและชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา และให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารหรือหน่วยทหารตามข้อ ๑๑ ทราบเพื่อส่งนายทหาร สัญญาบัตรเข้าฟังการสอบสวนและร่วมสังเกตการชันสูตรพลิกศพด้วย
หมวด ๖ การส่งสำนวนการสอบสวน
ข้อ ๒๗ การส่งสำนวนและผู้ต้องหาให้อัยการ
เมื่อการสอบสวนเสร็จสิ้นลง ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้
(๑) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไปส่วนผู้ต้องหานั้น ถ้าได้มอบตัวให้ผู้บังคับบัญชารับไปควบคุมไว้ก่อนแล้วตามข้อ ๑๖ ก็อาจไม่ต้องขอรับตัวมาดำเนินการอีก แต่ให้บันทึกและแจ้งให้อัยการทหารทราบว่าได้มอบตัวผู้ต้องหาให้ผู้บังคับบัญชาผู้ใดรับตัวไปแล้วตั้งแต่เมื่อใด
(๒) ถ้าเป็นคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งตัวทหารผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ
เพื่อดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป การส่งตัวทหารผู้ต้องหาที่อยู่ในการควบคุมของผู้บังคับบัญชา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับบัญชาเพื่อส่งตัวทหารผู้นั้นมายังพนักงานสอบสวนตามสถานที่และเวลาที่กำหนดเพื่อส่งให้พนักงานอัยการพร้อมกับสำนวน
ในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งฟ้องไม่ทันในวันนั้น หากมิได้มีการสั่งให้ปล่อยชั่วคราว ให้พนักงานอัยการมอบตัวผู้ต้องหาให้อยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวนสำหรับในกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ฝากตัวผู้ต้องหาให้เรือนจำควบคุมไว้
ข้อ ๒๘ การส่งสำนวนให้อัยการทหาร
ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการทหารเพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารต่อไปในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) คดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้และเปรียบเทียบเสร็จแล้วหรือทหารผู้ต้องหาไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ตามข้อ ๒๔ วรรคสอง
(๒) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและยังจับตัวทหารผู้ต้องหาไม่ได้
(๓) คดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารและจับตัวทหารผู้ต้องหาได้แต่หลักฐานไม่พอฟ้องหรือพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง.............
(๔) กรณีมีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของฝ่ายทหารซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่
(๕) กรณีที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนคดีทหารตามที่ฝ่ายทหารร้องขอตามข้อ ๒๒ วรรคสอง เสร็จสิ้นแล้ว
ในกรณีที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ทำการสอบสวนเกี่ยวกับคดีที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพเมื่อพนักงานสอบสวนชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสร็จแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปให้เจ้าหน้าที่สอบสวนฝ่ายทหารตามที่ได้รับการร้องขอ
ข้อ ๒๙ การแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน
ในคดีอาญาซึ่งทหารเป็นผู้ต้องหาและอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมให้พนักงานสอบสวนและ
พนักงานอัยการแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน ดังนี้
(๑) เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ให้หัวหน้าพนักงานสอนสวนหรือหัวหน้าสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้องแจ้งความเห็นทางคดีชั้นสอบสวนไปยังฝ่ายทหาร
(๒) เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องหรือมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังฝ่ายทหาร
(๓) เมื่อศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาประการใด ให้พนักงานอัยการแจ้งคำพิพากษาของทุกชั้นศาลไปยังฝ่ายทหาร
(๔) ในกรณีที่ทหารผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและฝ่ายทหารที่ได้รับแจ้งต้องการที่จะรับตัวทหารผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อพ้นโทษให้แจ้งการอายัดตัวให้ผู้บัญชาการเรือนจำที่ทหารผู้กระทำผิดนั้นต้องคุมขังอยู่ได้ทราบ และให้ผู้บัญชาการเรือนจำแจ้งให้ฝ่ายทหารที่แจ้งการอายัดตัวทราบเมื่อใกล้กำหนดวันเวลาที่จะปล่อยตัวไป
(๕) เมื่อจะมีการปล่อยตัวทหารผู้กระทำความผิด หากมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมารับตัว ก็ให้มอบตัวไป แต่ถ้าไม่มีก็ให้ผู้ที่มีอำนาจสั่งปล่อยหรือพนักงานอัยการในกรณีที่ศาลยุติธรรมเป็นผู้สั่งปล่อย แจ้งให้ทหารผู้นั้นไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด
(๖) ถ้าทหารผู้นั้น ต้องหาในคดีอื่นซึ่งจะต้องนำตัวไปฟ้องยังศาลทหารอีกด้วย หรือผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารต้องการตัว ให้ฝ่ายทหารมีหนังสืออายัดตัวไว้กับพนักงานสอบสวน และให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสำนวนการสอบสวนว่าทางทหารยังต้องการตัว และให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารติดต่อกับพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อรับตัวทหารนั้นไป
ข้อ ๓๐ การดำเนินคดีกับบุคคลบางประเภท
การดำเนินคดีอาญากับบุคคลบางประเภท ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ทหารผู้ต้องหาว่ากระทำผิดคดีอาญาและอยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการไปตามกฎหมายนั้นทุกประการ และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหานั้นทราบ
(๒) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นพลเรือนในสังกัดราชการทหาร แต่การกระทำผิดคดีอาญาเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลนั้นปฏิบัติหน้าที่ยามรักษาสถานที่ราชการทหาร ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๖ มาใช้โดยอนุโลม
(๓) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นอาสาสมัครทหารพรานที่อยู่ในความควบคุมดูแลของทางราชการทหาร และการกระทำความผิดคดีอาญาเกิดในขณะที่บุคคลนั้นยังสังกัดอยู่ในหน่วยอาสาสมัครทหารพราน ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๒๓ มาใช้โดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔
หมายเหตุ : กรณีที่ผู้ต้องหาเป็นทหารกระทำผิดคนเดียว
แม้อยู่ในอำนาจศาลแขวง ก็ไม่สามารถเอาตัวไปฟ้องยังศาลแขวงได้
เนื่องจากเป็นคดีในอำนาจศาลทหาร ถึงแม้ระเบียบสำนักนายกฯจะให้เอาตัวไปฟ้องศาลแขวงได้
กรณีทหารผู้ต้องหารับสารภาพ ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดต่อพระธรรมนูญศาลทหาร
(ระเบียบสำนักนายกฯไม่ใช่กฎหมาย) ดังนั้น ท่าน พล.ต.อ.วุฒิขัย ศรีรัตนวุฒิ
จึงได้มีหนังสือตามมาว่า ทหารคนเดียวกระทำผิดในอำนาจศาลแขวงไม่ว่าจะรับสารภาพหรือไม่ก็ตาม
ให้เอาตัวไปฟ้องยังศาลทหาร โดยไม่นำ วิ.แขวง
มาใช้ (ให้ใช้ ป.วิ อาญา) ในคดีอาญาซึ่งทหารเป็นผู้ต้องหาและอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมให้พนักงานสอบสวนและ
พนักงานอัยการแจ้งผลคดีเพื่อการประสานงาน ดังนี้
(๑) เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ให้หัวหน้าพนักงานสอนสวนหรือหัวหน้าสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้องแจ้งความเห็นทางคดีชั้นสอบสวนไปยังฝ่ายทหาร
(๒) เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องหรือมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังฝ่ายทหาร
(๓) เมื่อศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาประการใด ให้พนักงานอัยการแจ้งคำพิพากษาของทุกชั้นศาลไปยังฝ่ายทหาร
(๔) ในกรณีที่ทหารผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกและฝ่ายทหารที่ได้รับแจ้งต้องการที่จะรับตัวทหารผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อพ้นโทษให้แจ้งการอายัดตัวให้ผู้บัญชาการเรือนจำที่ทหารผู้กระทำผิดนั้นต้องคุมขังอยู่ได้ทราบ และให้ผู้บัญชาการเรือนจำแจ้งให้ฝ่ายทหารที่แจ้งการอายัดตัวทราบเมื่อใกล้กำหนดวันเวลาที่จะปล่อยตัวไป
(๕) เมื่อจะมีการปล่อยตัวทหารผู้กระทำความผิด หากมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมารับตัว ก็ให้มอบตัวไป แต่ถ้าไม่มีก็ให้ผู้ที่มีอำนาจสั่งปล่อยหรือพนักงานอัยการในกรณีที่ศาลยุติธรรมเป็นผู้สั่งปล่อย แจ้งให้ทหารผู้นั้นไปรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด
(๖) ถ้าทหารผู้นั้น ต้องหาในคดีอื่นซึ่งจะต้องนำตัวไปฟ้องยังศาลทหารอีกด้วย หรือผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารต้องการตัว ให้ฝ่ายทหารมีหนังสืออายัดตัวไว้กับพนักงานสอบสวน และให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในสำนวนการสอบสวนว่าทางทหารยังต้องการตัว และให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายทหารติดต่อกับพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อรับตัวทหารนั้นไป
ข้อ ๓๐ การดำเนินคดีกับบุคคลบางประเภท
การดำเนินคดีอาญากับบุคคลบางประเภท ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ทหารผู้ต้องหาว่ากระทำผิดคดีอาญาและอยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการไปตามกฎหมายนั้นทุกประการ และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้ต้องหานั้นทราบ
(๒) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นพลเรือนในสังกัดราชการทหาร แต่การกระทำผิดคดีอาญาเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลนั้นปฏิบัติหน้าที่ยามรักษาสถานที่ราชการทหาร ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๖ มาใช้โดยอนุโลม
(๓) ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นอาสาสมัครทหารพรานที่อยู่ในความควบคุมดูแลของทางราชการทหาร และการกระทำความผิดคดีอาญาเกิดในขณะที่บุคคลนั้นยังสังกัดอยู่ในหน่วยอาสาสมัครทหารพราน ให้นำความในข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๒๓ มาใช้โดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔
หากทหารไม่ประกันตัวในชั้นสอบสวน พงส.ต้องเอาตัวไปฝากขัง ส่วนจะฝากขังได้กี่ครั้ง ให้ดู ป.วิ อาญา ม.87 โทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท ศาลสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำหนดไม่เกิน 7 วัน ถ้าโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่ถึง 10 ปี หรือปรับเกินกว่า 500 บาท ศาลสั่งขังหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 48 วัน ถ้าโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปศาลสั่งขังหลายครั้งติดๆกันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 84 วัน
หากทหารผู้ต้องหาไม่ต้องการนายทหารพระธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องจัดให้อยู่แล้ว เพราะนายทหารพระธรรมนูญก็เปรียบเสมือนทนายหรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจนั่นเอง หากไม่ต้องการก็ไม่ต้องจัดให้ การแจ้งสิทธิทั้งหลายเป็นไปตาม ป.วิ อาญา ผู้ต้องหาทหารก็เหมือนพลเรือนคนหนึ่งมีสิทธิประกันตัวเองในชั้นสอบสวนได้ แต่ศาลทหารจะไม่นำวิแขวงมาใช้ จึงไม่ต้องผัดฟ้อง