คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (ม.๑๔)
(๑) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(๒) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
(๓) คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน
(๔) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
อำนาจการดำเนินคดี (ม.๑๕)
✪ คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
✪ เมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (ม.๑๖)
(๑) นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
(๒) นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ
เฉพาะเมื่อ กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
(๓) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ
หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(๔) นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
(๕) ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ
ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้ เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
(๖) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร
เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำผิดอย่างอื่น เฉพาะใน หรือบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร
ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
(๗) บุคคลซึ่งต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
(๘) เชลยศึกหรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร