ระเบียบราชการศาลทหาร (ฉบับที่3) พุทธศักราช 2545
...................................
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 237 และ 238 บัญญัติว่า การจับ
การคุมขังบุคคลใด และการค้นในที่รโหฐาน จะต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล เว้นแต่จะมีเหตุตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือตามที่กฎหมายบัญญัติ
อันเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการออกหมายอาญาจากเดิมที่มี
ศาล พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และการสั่งควบคุมผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารระหว่างสอบสวน
ซึ่งเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหาร มาเป็นศาลเพียงองค์กรเดียว
ประกอบกับ พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พุทธศักราช 2495 ได้ถูกยกเลิกไม่มีผลใช้บังคับแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2498 โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงวางระเบียบราชการศาลทหารไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบราชการศาลทหาร (ฉบับที่3) พ.ศ. 2545”
ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป
ข้อ 3. ในกรณีที่มีระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้แทน
ข้อ 4. ให้ยกเลิกความในข้อ 15 ของระเบียบราชการศาลทหาร พ.ศ. 2532 และใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ 15 การออกหมายอาญา
15.1 หมายขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน
15.1.1 การร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวน ต้องปรากฏความต่อศาลชัดเจนว่าผู้ต้องหาที่จะถูกคุมขังนั้น เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร และให้ร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
ทั้งนี้ อยู่ภายใต้บังคับในเรื่องชั้นยศทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ด้วย
15.1.2 เมื่อได้รับคำร้องขอให้คุมขังผู้ต้องหา ให้จ่าศาลตรวจคำร้อง เมื่อเห็นว่าถูกต้องเรียบร้อย ให้นำคำร้องเสนอต่อศาล
15.1.3 เมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ศาลจะส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ต้องหา และนัดไต่สวนโดยเร็ว
15.1.4 ในการไต่สวนคำร้อง ศาลจะอ่านคำร้องให้ผู้ต้องหาฟัง และถามความจำเป็นของผู้ร้อง และข้อคัดค้านของผู้ต้องหา
ถ้าเห็นว่าไม่มีความจำเป็น ศาลจะสั่งยกคำร้อง แต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวน
ตามระยะเวลาที่เห็นว่าจำเป็น และตามบทกฎหมายที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด
จะต้องปรากฏพยานหลักฐานเพียงพอที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่า
15.1.4.1 ผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดคดีอาญาร้ายแรง ตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว
ก็ควรถือแนวปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจของศาลว่า
หมายถึง ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
15.1.4.2 ผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควร เชื่อว่าผู้นั้นน่าจะหลบหนี
หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าผู้ต้องหาที่ศาลจะออกหมายขังเป็นผู้ที่ศาลได้ออกหมายจับไว้แล้ว หรือต้องขังตามหมายศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีผู้ร้องขอหรือไม่
ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหานั้น โดยไม่ต้องไต่สวนถึงเหตุแห่งการออกหมายก็ได้
เว้นแต่ มีผู้กล่าวอ้างหรือปรากฏต่อศาลเองว่าไม่มีเหตุที่จะขังผู้นั้นต่อไป
ก็ให้ไต่สวนหรือมีคำสั่งได้ตามที่เห็นสมควร
✩ คำสั่ง ระเบียบ กรณีทหารเป็นผู้ต้องหา และการปฏิบัติทางคดีอาญาเกี่ยวกับทหาร ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
การจับและคุมขังบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
กรมพระธรรมนูญ ได้ตอบข้อหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกหมายจับและหมายขัง (ตามหนังสือที่ กห ๐๒๐๒/๑๓๓๐ ลง ๙ ต.ค.๒๕๔๕) ดังนี้
๑. ในคดีอาญา นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ ต.ค.๒๕๔๕ เป็นต้นไป การจับและคุมขังผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในชั้นสอบสวน เป็นอำนาจของศาลทหารที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในการมีคำสั่งหรือออกหมาย ตามมาตรา ๒๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช ๒๔๙๘ มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๔๕ แล้วแต่กรณี
๒. กรณีที่ทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร
ให้ตำรวจร้องขอหมายจับต่อศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
และมีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการจับ๑. ในคดีอาญา นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ ต.ค.๒๕๔๕ เป็นต้นไป การจับและคุมขังผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในชั้นสอบสวน เป็นอำนาจของศาลทหารที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในการมีคำสั่งหรือออกหมาย ตามมาตรา ๒๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช ๒๔๙๘ มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๔๕ แล้วแต่กรณี
๓. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาทหารมิได้มารับตัวทหารผู้ต้องหา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พุทธศักราช ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖(๑) ให้ตำรวจนำตัวทหารผู้ต้องหาไปยังศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายขังให้ต่อไป
กองคดี แจ้งมาเพื่อทราบและถือเป็นแนวปฏิบัติตามนัยระเบียบดังกล่าว (ตามหนังสือ กองคดี ที่ ๐๐๐๔.๖/๑๓๒๐๕ ลง ๒๙ ต.ค.๒๕๔๕) ดังนี้
การยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับและหมายค้น
๑. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา
และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ
หรือหมายค้นต่อศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการจับหรือค้น
๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ หรือหมายค้นต่อศาลยุติธรรม ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วย แนวปฏิบัติในการออกหมายจับและหมายค้นในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕ ลง ๓ ต.ค.๒๕๔๕
๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ หรือหมายค้นต่อศาลยุติธรรม ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วย แนวปฏิบัติในการออกหมายจับและหมายค้นในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕ ลง ๓ ต.ค.๒๕๔๕
การยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังระหว่างสอบสวน
๑. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายขังต่อศาลทหาร ที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม จะยื่นคำร้องขอออกหมายขังต่อศาลยุติธรรม ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยแนวปฏิบัติในการออกหมายขังในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕ ลง ๗ ต.ค.๒๕๔๕ ก็ได้
๓. การยื่นคำร้องขอให้ศาลทหารออกหมายจับ หมายค้นหรือหมายขัง ให้พึงระมัดระวังเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลทหารจังหวัด และศาลมณฑลทหารด้วย เนื่องจากศาลทหารไม่ได้เปิดทำการทุกจังหวัด ตามที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำนาจศาลทหารจังหวัดและศาลมณฑลทหาร พ.ศ.๒๕๓๓ รวมทั้งให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์เรื่องชั้นยศทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๙,๒๑,๒๒ ด้วย เช่น ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร ศาลมณฑลทหาร และศาลประจำหน่วยทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นนายพล หรือเทียบเท่า เป็นต้น
คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้พิจารณาดำเนินการตามลำดับดังนี้
๑. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ไม่ว่าคดีนั้นจะมีอัตราโทษอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือไม่ก็ตาม และบุคคลนั้นจะให้การรับสารภาพหรือไม่ก็ตาม ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เช่น คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน หรือคดีที่เกี่ยวพันกันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน และเป็นคดีที่มีอัตราโทษอยู่ในอำนาจศาลแขวง หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง โดยแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบการจับกุมและการฟ้องด้วย
อำนาจศาลทหาร
คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (ม.๑๔)
(๑) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(๒) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
(๓) คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน
(๔) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
อำนาจการดำเนินคดี (ม.๑๕)
✪ คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
✪ เมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว
แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (ม.๑๖)
(๑) นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
(๒) นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ
เฉพาะเมื่อ กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
(๓) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ
หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(๔) นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
(๕) ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ
ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้ เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
(๖) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร
เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำผิดอย่างอื่น เฉพาะใน หรือบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร
ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
(๗) บุคคลซึ่งต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
(๘) เชลยศึกหรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)