วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกรณีทหารกระทำผิดอาญา พ.ศ.๒๕๔๔

                            ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงาน
                                 กรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
           โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดคดีอาญา เนื่องจากบัดนี้มีการโอนกรมตำรวจจากกระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับตำรวจ ทหาร พนักงานฝ่ายปกครอง และวิธีพิจารณาความอาญาใหม่แล้ว ประกอบกับข้อตกลงบางข้อไม่สอดคล้องกับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมในเวลาปกติอันมิใช่ภาวะสงคราม จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และกฎหมายโดยเฉพาะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งควรกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติให้ชัดเจน สะดวกต่อผู้ปฏิบัติและสามารถดำเนินการได้รวดเร็วไม่เสียหายต่อรูปคดีโดยคำนึงถึงหลักความสามัคคีปรองดอง และหลักการประสานงานระหว่างตำรวจ ทหารกับพนักงานฝ่ายปกครองในการร่วมมือและอำนวยความสะดวก เพื่อป้องปราม ป้องกันหรือระงับเหตุวิวาทมิให้ลุกลามต่อไป อันจะช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ประการหนึ่ง ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงแบบธรรมเนียมของแต่ละฝ่าย ตลอดจนความจำเป็นขององค์กรในการดูแลรักษาสถานที่ ยานพาหนะ และอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนให้ปลอดภัยและปกครองดูแลบุคลากรให้อยู่ในวินัยและได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นธรรมตามควรแก่กรณี แต่ทั้งนี้ต้องมิให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือฝ่าฝืนกฎหมายที่มีเพื่อคุ้มครองบุคคลทั่วไปโดยเสมอกัน อันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) และ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
            ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
            ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
            ข้อ ๓  ให้ยกเลิก
                       ๓.๑  ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘
                      ๓.๒  ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติกระสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ (ฉบับที่ ๑) พ.ศ.๒๕๐๗
                     ๓.๓  ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๑๒
                     ๓.๔  ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๑๘
                    ๓.๕  ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่องการปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.๒๔๙๘(ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๒๕บรรดาข้อตกลง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือขัดแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
             ข้อ ๔  ในระเบียบนี้
                   “เขตที่ตั้งทหารหมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณซึ่งมีหน่วยทหารตั้งอยู่
                   “คณะกรรมการหมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา
                   “ตำรวจหมายความว่า ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
                   “ทหารหมายความว่า ข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
                   “พนักงานฝ่ายปกครองหมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งมิใช่ตำรวจและทหาร แต่มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น
                   “สิ่งสื่อสารหมายความรวมถึง จดหมาย โทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร โทรพิมพ์ วิทยุ และการติดต่อสื่อสารส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด
            ข้อ ๕  ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้



วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระเบียบราชการศาลทหาร (ฉบับที่3) พุทธศักราช 2545

                               ระเบียบราชการศาลทหาร (ฉบับที่3) พุทธศักราช 2545 
                                                          ...................................
                โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 237 และ 238 บัญญัติว่า การจับ การคุมขังบุคคลใด และการค้นในที่รโหฐาน จะต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล เว้นแต่จะมีเหตุตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือตามที่กฎหมายบัญญัติ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการออกหมายอาญาจากเดิมที่มี ศาล พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และการสั่งควบคุมผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารระหว่างสอบสวน ซึ่งเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหาร มาเป็นศาลเพียงองค์กรเดียว ประกอบกับ พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พุทธศักราช 2495 ได้ถูกยกเลิกไม่มีผลใช้บังคับแล้ว
                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช 2498 โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงวางระเบียบราชการศาลทหารไว้ ดังต่อไปนี้
               ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบราชการศาลทหาร (ฉบับที่3) พ.ศ. 2545”
               ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป
               ข้อ 3. ในกรณีที่มีระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้แทน
               ข้อ 4. ให้ยกเลิกความในข้อ 15 ของระเบียบราชการศาลทหาร พ.ศ. 2532 และใช้ความต่อไปนี้แทน
               “ข้อ 15 การออกหมายอาญา
                      15.1 หมายขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน
                      15.1.1 การร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวน ต้องปรากฏความต่อศาลชัดเจนว่าผู้ต้องหาที่จะถูกคุมขังนั้น เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร และให้ร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ทั้งนี้ อยู่ภายใต้บังคับในเรื่องชั้นยศทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ด้วย
                      15.1.2 เมื่อได้รับคำร้องขอให้คุมขังผู้ต้องหา ให้จ่าศาลตรวจคำร้อง เมื่อเห็นว่าถูกต้องเรียบร้อย ให้นำคำร้องเสนอต่อศาล
                      15.1.3 เมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ศาลจะส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ต้องหา และนัดไต่สวนโดยเร็ว
                      15.1.4 ในการไต่สวนคำร้อง ศาลจะอ่านคำร้องให้ผู้ต้องหาฟัง และถามความจำเป็นของผู้ร้อง และข้อคัดค้านของผู้ต้องหา ถ้าเห็นว่าไม่มีความจำเป็น ศาลจะสั่งยกคำร้อง แต่ถ้าศาลเห็นสมควรจะออกหมายขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวน ตามระยะเวลาที่เห็นว่าจำเป็น และตามบทกฎหมายที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด จะต้องปรากฏพยานหลักฐานเพียงพอที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่า
                      15.1.4.1 ผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดคดีอาญาร้ายแรง ตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ก็ควรถือแนวปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจของศาลว่า หมายถึง ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
                      15.1.4.2 ผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควร เชื่อว่าผู้นั้นน่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าผู้ต้องหาที่ศาลจะออกหมายขังเป็นผู้ที่ศาลได้ออกหมายจับไว้แล้ว หรือต้องขังตามหมายศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีผู้ร้องขอหรือไม่ ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหานั้น โดยไม่ต้องไต่สวนถึงเหตุแห่งการออกหมายก็ได้ เว้นแต่ มีผู้กล่าวอ้างหรือปรากฏต่อศาลเองว่าไม่มีเหตุที่จะขังผู้นั้นต่อไป ก็ให้ไต่สวนหรือมีคำสั่งได้ตามที่เห็นสมควร

การจับและคุมขังบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

                กรมพระธรรมนูญ ได้ตอบข้อหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกหมายจับและหมายขัง (ตามหนังสือที่ กห ๐๒๐๒/๑๓๓๐ ลง ๙ ต.ค.๒๕๔๕) ดังนี้
                ๑. ในคดีอาญา นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ ต.ค.๒๕๔๕ เป็นต้นไป การจับและคุมขังผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในชั้นสอบสวน เป็นอำนาจของศาลทหารที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในการมีคำสั่งหรือออกหมาย ตามมาตรา ๒๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พุทธศักราช ๒๔๙๘ มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๔๕ แล้วแต่กรณี
                ๒. กรณีที่ทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ตำรวจร้องขอหมายจับต่อศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการจับ
                ๓. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาทหารมิได้มารับตัวทหารผู้ต้องหา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พุทธศักราช ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖(๑) ให้ตำรวจนำตัวทหารผู้ต้องหาไปยังศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายขังให้ต่อไป


                กองคดี แจ้งมาเพื่อทราบและถือเป็นแนวปฏิบัติตามนัยระเบียบดังกล่าว (ตามหนังสือ กองคดี ที่ ๐๐๐๔.๖/๑๓๒๐๕ ลง ๒๙ ต.ค.๒๕๔๕)  ดังนี้
                การยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับและหมายค้น 

                ๑.  กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ หรือหมายค้นต่อศาลทหาร ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการจับหรือค้น
                ๒.  กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับ หรือหมายค้นต่อศาลยุติธรรม ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วย แนวปฏิบัติในการออกหมายจับและหมายค้นในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕ ลง ๓ ต.ค.๒๕๔๕ 
               การยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังระหว่างสอบสวน
               ๑. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ยื่นคำร้องขอออกหมายขังต่อศาลทหาร ที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
               ๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม จะยื่นคำร้องขอออกหมายขังต่อศาลยุติธรรม ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยแนวปฏิบัติในการออกหมายขังในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๕ ลง ๗ ต.ค.๒๕๔๕ ก็ได้
              ๓. การยื่นคำร้องขอให้ศาลทหารออกหมายจับ หมายค้นหรือหมายขัง ให้พึงระมัดระวังเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลทหารจังหวัด และศาลมณฑลทหารด้วย เนื่องจากศาลทหารไม่ได้เปิดทำการทุกจังหวัด ตามที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำนาจศาลทหารจังหวัดและศาลมณฑลทหาร พ.ศ.๒๕๓๓ รวมทั้งให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์เรื่องชั้นยศทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๙,๒๑,๒๒ ด้วย เช่น ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร ศาลมณฑลทหาร และศาลประจำหน่วยทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นนายพล หรือเทียบเท่า เป็นต้น

                คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้พิจารณาดำเนินการตามลำดับดังนี้
                ๑. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ไม่ว่าคดีนั้นจะมีอัตราโทษอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือไม่ก็ตาม และบุคคลนั้นจะให้การรับสารภาพหรือไม่ก็ตาม ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
                ๒. กรณีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดอาญา และเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เช่น คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน หรือคดีที่เกี่ยวพันกันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน และเป็นคดีที่มีอัตราโทษอยู่ในอำนาจศาลแขวง หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง โดยแจ้งให้ฝ่ายทหารทราบการจับกุมและการฟ้องด้วย

อำนาจศาลทหาร

                                 คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร (ม.๑๔) 
() คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
() คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
() คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน
() คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

                                อำนาจการดำเนินคดี  (ม.๑๕)
          คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
          เมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้ว แม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

                            บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร  (ม.๑๖) 
         () นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
         () นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อ กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
         () นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
         () นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
         () ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้ เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
         () พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำผิดอย่างอื่น เฉพาะใน หรือบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
         () บุคคลซึ่งต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
         () เชลยศึกหรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร