ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลง ๒๕ พ.ค.๒๕๕๗ เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ได้ประกาศให้การกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตราชอาณาจักรและในระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร
๑. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
(๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒
(๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ ยกเว้นความผิดซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
๒. ความผิดตามประกาศหรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗ ลง ๒๕ พ.ค.๒๕๕๗ เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกัน ให้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ได้ประกาศว่า "ถ้าคดีใดประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกัน แม้แต่ละอย่างจะเป็นความผิดได้ในตัวเองและไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วย"
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ ลง ๓๐ พ.ค.๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ได้ประกาศให้
(๑) ให้คดีที่มีข้อหาว่ากระทำความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พุทธศักราช ๒๔๙๐ ไม่ว่าจะมีข้อหาว่ากระทำผิดอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ที่กระทำตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป ให้เป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ยกเว้นความผิดซึ่งการกระทำเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช ๒๕๔๘
(๒) ประกาศนี้ไม่มีผลกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว
(๓) ประกาศนี้ไม่มีผลกระทบคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลยุติธรรมในวันออกประกาศนี้
สรุปประกาศ คสช. ดังกล่าวข้างต้น ได้ความว่า คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ที่จะพิจารณาพิพากษา คือ
๑. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๗ - ๑๑๘
๒. ความผิดตามประกาศหรือคำสั่ง คสช.
๓. ความผิดที่มีข้อหาบางอย่างอยู่ในอำนาจของศาลทหาร และมีข้อหาอื่นที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารรวมอยู่ด้วย
๔. คดีความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ซึ่งกระทำความผิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ น.
ข้อยกเว้น ได้แก่
- การฝ่าฝืนเคอร์ฟิว ไม่มีโทษทางอาญา ศาลไม่รับฝากขัง
- คดีความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ โดยทั่วไปที่ไม่ใช่อาวุธสงคราม ให้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม และกรณีที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ไม่ว่าจะมีความผิดอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ที่กระทำก่อนวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ น ให้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม
- ต่อมา คสช. ได้มีคำสั่งที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลง ๒๕ พ.ค. ๒๕๕๗ , ประกาศ ฉบับที่ ๕๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ และประกาศ ฉบับที่ ๕๙ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้ขยายระยะเวลาให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม หรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาต นำส่งมอบให้นายทะเบียนท้องที่นับตั้งแต่วันที่ ๒๙ พ.ค.๒๕๕๗ ไปจนถึงวันที่ ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๗ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ไม่ต้องรับโทษ ยกเว้นที่ถูกจับกุมหรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยก่อนวันที่ ๒๙ พ.ค.๒๕๕๗ และอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การปฏิบัติตามประกาศ คำสั่ง คสช.เกี่ยวกับอาวุธปืน
๑. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
(๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒
(๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ ยกเว้นความผิดซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
๒. ความผิดตามประกาศหรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๘/๒๕๕๗ ลง ๒๕ พ.ค.๒๕๕๗ เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกัน ให้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ได้ประกาศว่า "ถ้าคดีใดประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกัน แม้แต่ละอย่างจะเป็นความผิดได้ในตัวเองและไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วย"
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗ ลง ๓๐ พ.ค.๒๕๕๗ เรื่อง ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ได้ประกาศให้
(๑) ให้คดีที่มีข้อหาว่ากระทำความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พุทธศักราช ๒๔๙๐ ไม่ว่าจะมีข้อหาว่ากระทำผิดอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ที่กระทำตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป ให้เป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ยกเว้นความผิดซึ่งการกระทำเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๕๑ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช ๒๕๔๘
(๒) ประกาศนี้ไม่มีผลกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว
(๓) ประกาศนี้ไม่มีผลกระทบคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลยุติธรรมในวันออกประกาศนี้
สรุปประกาศ คสช. ดังกล่าวข้างต้น ได้ความว่า คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ที่จะพิจารณาพิพากษา คือ
๑. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๗ - ๑๑๘
๒. ความผิดตามประกาศหรือคำสั่ง คสช.
๓. ความผิดที่มีข้อหาบางอย่างอยู่ในอำนาจของศาลทหาร และมีข้อหาอื่นที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารรวมอยู่ด้วย
๔. คดีความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ซึ่งกระทำความผิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ น.
ข้อยกเว้น ได้แก่
- การฝ่าฝืนเคอร์ฟิว ไม่มีโทษทางอาญา ศาลไม่รับฝากขัง
- คดีความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ โดยทั่วไปที่ไม่ใช่อาวุธสงคราม ให้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม และกรณีที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม ไม่ว่าจะมีความผิดอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ที่กระทำก่อนวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ น ให้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม
- ต่อมา คสช. ได้มีคำสั่งที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลง ๒๕ พ.ค. ๒๕๕๗ , ประกาศ ฉบับที่ ๕๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ และประกาศ ฉบับที่ ๕๙ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้ขยายระยะเวลาให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ใช้เฉพาะแต่การสงคราม หรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาต นำส่งมอบให้นายทะเบียนท้องที่นับตั้งแต่วันที่ ๒๙ พ.ค.๒๕๕๗ ไปจนถึงวันที่ ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๗ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ไม่ต้องรับโทษ ยกเว้นที่ถูกจับกุมหรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยก่อนวันที่ ๒๙ พ.ค.๒๕๕๗ และอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การปฏิบัติตามประกาศ คำสั่ง คสช.เกี่ยวกับอาวุธปืน