คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๐๔/๒๕๑๓
พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๔, ๑๕ วรรคหนึ่ง
ป.อ. มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐, ๓๙๐
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๒๒/๒๕๑๓)
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า "คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ
(๑) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(๒) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
(๓) คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน
(๔) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร"
และมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน"
ฉะนั้น ถ้าคดีนี้ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน ๔ ประการของมาตรา ๑๔ แล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันมีผลตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง คือต้องดำเนินคดีส่งฟ้องต่อศาลพลเรือน
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่า จำเลยกระทำผิดโดยประมาทและความตายของพลทหาร ป. เกิดขึ้นเพราะความประมาทของพลเรือนที่หลบหนีไปซึ่งขับรถโดยประมาท กับจำเลยซึ่งขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดเฉี่ยวและชนกัน
กรณีจึงเห็นได้ว่า ถ้าไม่เป็นเพราะจำเลยและพลเรือนกระทำผิดโดยประมาทด้วยกัน ความตายของผู้ตายก็เกิดขึ้นไม่ได้ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า กรณีเช่นนี้ตกอยู่ในบทบัญญัติมาตรา ๑๔ (๑) ที่ว่า "คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน" คำว่า "ด้วยกัน" ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา ๘๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
แม้ทหารจะกระทำผิดฐานประมาทและพลเรือนก็กระทำผิดฐานประมาท แล้วเป็นเหตุให้คนถึงแก่ความตายอย่างเช่นคดีนี้ ก็เป็นเรื่องที่ "กระทำผิดด้วยกัน" ด้วย เมื่อคดีนี้เป็นคดีตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา ๑๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารต้องดำเนินคดีนี้ต่อศาลพลเรือนตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๔, ๑๕ วรรคหนึ่ง
ป.อ. มาตรา ๒๙๑, ๓๐๐, ๓๙๐
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๒๒/๒๕๑๓)
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า "คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ
(๑) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(๒) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
(๓) คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน
(๔) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร"
และมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน"
ฉะนั้น ถ้าคดีนี้ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน ๔ ประการของมาตรา ๑๔ แล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันมีผลตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง คือต้องดำเนินคดีส่งฟ้องต่อศาลพลเรือน
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่า จำเลยกระทำผิดโดยประมาทและความตายของพลทหาร ป. เกิดขึ้นเพราะความประมาทของพลเรือนที่หลบหนีไปซึ่งขับรถโดยประมาท กับจำเลยซึ่งขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดเฉี่ยวและชนกัน
กรณีจึงเห็นได้ว่า ถ้าไม่เป็นเพราะจำเลยและพลเรือนกระทำผิดโดยประมาทด้วยกัน ความตายของผู้ตายก็เกิดขึ้นไม่ได้ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า กรณีเช่นนี้ตกอยู่ในบทบัญญัติมาตรา ๑๔ (๑) ที่ว่า "คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน" คำว่า "ด้วยกัน" ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา ๘๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
แม้ทหารจะกระทำผิดฐานประมาทและพลเรือนก็กระทำผิดฐานประมาท แล้วเป็นเหตุให้คนถึงแก่ความตายอย่างเช่นคดีนี้ ก็เป็นเรื่องที่ "กระทำผิดด้วยกัน" ด้วย เมื่อคดีนี้เป็นคดีตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา ๑๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.๒๔๙๘ จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารต้องดำเนินคดีนี้ต่อศาลพลเรือนตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้